ห้องจัดแสดง

ห้องจัดแสดง ในพิพิธภัณฑ์ภายใต้หัวข้อ “ถอดรหัสไทย” ในห้องที่ 1-3 เผื่อเป็นตัวเลือกสำหรับใคร

พิพิธภัณฑ์ในย่านเมืองเก่า อยู่ใกล้เคียงกับวัดพระแก้ว วัดโพ และปากคลองตลาด ซึ่งสามารถเดินทางมาได้ด้วยรถเมล์สาย 53 หรือรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสนามไชย โดยในวันนี้จะมารีวิว ห้องจัดแสดง ในพิพิธภัณฑ์ภายใต้หัวข้อ “ถอดรหัสไทย” ในห้องที่ 1-3  เผื่อเป็นตัวเลือกสำหรับใครหลายคนที่จะไปเยี่ยมเยือนในวันหยุด ติดตามต่อในบทความแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว

1.ห้องไทยหรือเปล่า

ห้องจัดแสดง

          ห้องจัดแสดง นี้เหมือนเป็นการเริ่มตั้งคำถามกับผู้เข้าชมว่าอะไรคือไทย ไทยแท้เป็นอย่างไร เรามีเครื่องมืออะไรมาวัดหรือไม่ว่าอะไรคือไทยและอะไรไม่ไทย เพราะหลายครั้งเกิดประเด็นในสังคมออนไลน์ เช่น การนำเครื่องแต่งกายของละครทางนาฎศิลป์มาใส่เพื่อขายของจัดเป็นสิ่งที่เหมาะสมหรือไม่ การที่นักร้องชื่อดังชาวสหรัฐอเมริกาเอาชฎามาใส่เหมาะสมหรือเปล่า โดยกลางห้องจะมีชุดที่ผ่านการคิดสร้างสรรค์ตั้งอยู่ เพื่อให้ผู้เข้าชมตอบคำถามในใจว่าสุดท้ายแล้วมันคือชุดไทยหรือไม่อย่างไร 

2. ห้องไทยแปลไทย

ห้องจัดแสดง

          ห้องนี้จะโชว์เกี่ยวกับสิ่งของตั้งแต่ยุคประวัติศาสตร์ เช่น หม้อบ้านเชียง ศิลาจารึก เสื้อลูกไม้ ธงชาติไทย รถตุ๊กตุ๊ก หนังไทย ตลอดจนชุดประจำชาติของนางงาม ซึ่งเมื่อรับชมแล้วก็จะทำให้เราเกิดความรู้สึกได้ว่า สิ่งของเหล่านี้พวกเราไม่ได้ให้กำเนิดมันโดยตรง แต่ทุกอย่างล้วนถือกำเนิดมาจากที่อื่น ก่อนที่เราจะรับช่วงต่อมาอีกทอด จนเมื่อเวลาผ่านไปการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งของเหล่านั้นมันก่อให้เกิดความเคยชิน กระทั่งเรานิยามว่ามันคือสัญลักษณ์ที่สื่อถึงความเป็นไทยในที่สุด

 3. ห้องไทยตั้งแต่เกิด

ห้องจัดแสดง

          ห้องนี้จะมีความน่าสนใจมากที่สุด ซึ่งจะเป็นการบรรยาย พร้อมด้วยแสงสีเสียง เพื่อสื่อถึงพัฒนาความเป็นไทยตั้งแต่อดีต อีกทั้งขณะบรรยายจะมีกล่องโมเดลโผล่ขึ้นมาเมื่อกำลังพูดถึงเรื่องนั้น ๆ โดยเรื่องเล่าจะไล่เรียงตั้งแต่การนิยามตัวเองว่าอักษรไทยกำเนิดจากสุโขทัย มีเมืองหลวงต่อมาคืออยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ ให้กำเนิดธงชาติไทย ริเริ่มการสร้างชาติไทยด้วยแนวคิดชาตินิยม กระทั่งยุคสงครามเย็นที่มีวัฒนธรรมของอเมริกันเข้ามา จึงเกิดการนำเพลงสไตล์ตะวันตกมาดัดแปลงจนกลายเป็นเพลงแบบไทยๆ เป็นต้น